0

ครู ทองดี สุจริตกุล

ครูทองดี

ครูทองดี สุจริตกุล

ครูทองดี สุจริตกุล เกิดเมื่อวันพุธ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ ที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี บิดาชื่อ บุญชัย มารดาชื่อ เก็บ มีอาชีพ ทำสวน กำพร้ามารดา ตั้งแต่อายุได้ ๙ ปี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันหลายคน ชื่อ ทองใบ ทองอยู่ และกิมเช็ง ไม่มีใครเป็นนักดนตรี เมื่อมารดาถึงแก่กรรมแล้ว ครูทองดีได้เข้ามาอยู่ในอุปถัมภ์ของพระสุจริตสุดา พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง ๑๐ ปี จึงได้หัดเครื่องสายมาพร้อม ๆ กับนักดนตรีหญิงของพระสุจริตสุดา อาทิ ประคอง พุ่มทองสุก (นิภา อภัยวงค์) ทองสุก สุทธิพิณฑุ แนบ เนตรานนท์ สุมิตรา สิงหลกะ (สุมิตรา สุจริตกุล) ลมหวล สุจริตกุล อำไพ สุจริตกุล ฉลวย รัตนจันทร์ (ฉลวย จิยะจันทน์) โดยเริ่มทำหน้าที่เป็นผู้ตีโทนรำมะนา ประจำวงเครื่องสาย ต่อมาได้เป็นผู้เล่นจะเข้ ประจำวง โดยมีครูชุ่ม กมลวาทิน พระสรรเพลงสรวง (บัว กมลวาทิน) และพระประณีตวรศัพท์ (เขียน จักรวาทิน) เป็นครูผู้ฝึกสอนนับเป็นนักดนตรีของวงเครื่องสาย คณะนารีศรีสุมิตรมาแต่ดั้งเดิม นอกจากจะเรียนดนตรีแล้ว ยังมีฝีมือในการเย็บปักถักร้อย และฝีมือในการจัดดอกไม้สด ดอกไม้ประดับต่าง ๆ เคยเดี่ยวจะเข้ถวายหน้าพระที่นั่งและเคยอัดแผ่นเสียงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับคณะนารีศรีสุมิตร ครูทองดี สมรสกับ นายเอนก สุจริตกุล ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องชั้นเดียวกันกับพระสุจริตสุดา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ มีบุตรเพียงคนเดียวชื่อ สุดาวดี เรียนอยู่ที่วิทยาลัยนาฎศิลป์ พ.ศ. ๒๔๙๘ เริ่มเป็นครูสอนในวิทยาลัยนาฎศิลป์ กรมศิลปากร ทำหน้าที่สอนจะเข้ และได้ร่วมมือกับครูประสิทธิ์ ถาวร ควบคุมฝึกซ้อมนักเรียนวิทยาลัยนาฎศิลป์ จัดแสดงมหาดุริยางค์ไทย ประสบผลสำเร็จอย่างดี
คุณครูทองดี สุจริตกุล ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ประจำปี พ.ศ.2538 อ่านเพิ่มเติม

0

ครู มนตรี ตราโมท

montri

นายมนตรี ตราโมท เกิดที่บ้านท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2443 เดิมชื่อ “บุญธรรม” เป็นบุตรของนายยิ้ม นางทองอยู่
เริ่มการศึกษาโดยเข้าเรียนอยู่โรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี (ปรีชาพิทยากร) สอบได้ชั้นมัธยมปีที่ 3
เนื่องจากบ้านอยู่ใกล้กับวัดสุวรรณภูมิ และที่วัดสุวรรณภูมินี้มีวงปี่พาทย์ ซึ่งฝึกซ้อม กันอยู่เสมอ ระหว่างที่เดินไปและกลับจากโรงเรียน ตลอดจนนอนอยู่บ้าน       ก็ได้ยินได้ฟัง เสียงเพลงปี่พาทย์อยู่เป็นนิตย์ จนจดจำทำนองได้เป็นตอนๆ บรรดา       นักดนตรีในวงปี่พาทย์ก็รู้จักคุ้นเคยทุกคน เวลามีการบรรเลงในงานที่อยู่ใกล้ๆ ก็มักจะเข้าไปช่วยเขาตีฆ้องเล็ก ทุ้มเหล็กด้วยเสมอๆ ซึ่งก็ตีตามเขาไป ได้บ้างไม่ได้บ้าง

credit  by http://haab.catholic.or.th/history/suwanapoom01/suwannapoom16.html